“ให้อภัย และ ปล่อยวาง ” 4 ลำดับ

  
        "การให้อภัย และปล่อยวาง"  ทำยากนะ แต่หากทำได้มันก็ดีสำหรับใจเรา และสำคัญเลยนะมันช่วยเยียวยาอาการซึมเศร้า หรือเหตุการณ์สะเทือนใจได้เป็นอย่างดีค่ะ เริ่มที่  >>

   1. จงเผยตัวตนของเราออกมา
ข้อนี้ต้องซี่อสัตย์ต่อตัวเอง ต่อความรู้สึกโกรธ ความเจ็บปวด แล้วประเมินความเสียหาย ที่สิ่งต่างๆ ที่เกิดกับเราได้ส่งผลต่อชีวิต หากพ่อแม่เลี้ยงดูเรามาแบบให้เราเติบโตอย่างไร้ค่า แล้วทุกวันนี้คุณรู้สึกแบบนั้นหรือเปล่า?  คุณโหยหาความรัก หรือการยอมรับในทางที่ผิดอยู่หรือเปล่า?


   2. กล้าตัดสินใจ
ต้องตัดสินใจให้อภัย แก่คนที่ทำให้เราเสียใจ และปล่อยวางความเจ็บปวด เคียดแค้นนั้นไปซะเร็วๆ โดยขโมยงาน ขโมยไอเดีย คำพูดหรืออะไรก็แล้วแต่ และไม่ยอมให้เครดิตกันเลย แบบนี้ถึงเวลาที่เราจะเปลี่ยนแปลง และหาวิธีรับมือกับคนพวกนี้ ปล่อยไว้ในระยะยาวความรู้สึกด้านลบ และความโกรธไม่ได้เหล่านี้ไม่ได้ช่วยทำให้ชีวิตเราดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย


   3. พยายามให้มาก
ใช่แล้วเราต้องใช้ความพยายามอย่างมากมายเลย ที่จะเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจคนที่ทำให้เราเสียใจ เสียความรู้สึก  - เอ็นไรท์  แนะนำว่าเราควรตั้งคำถามกับตัวเอง เช่นคนนี้เขาถูกเลี้ยงดู และเติบโตขึ้นมาอย่างไร?  เขามีปม หรือบาดแผลทางใจอะไรอยู่หรือไม่? หรือเพราะความเครียด กดดัน ที่เป็นสาเหตุให้เขาทำร้านจิตใจความรู้สึกเรา?
นึกถึงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจให้คนนั้นได้ไม่ว่ารอยยิ้มทักทาย พูดคุยด้วย หรือแค่อดทนให้มากขึ้นในครั้งต่อไปที่ต้องเจอกันอีก จำไว้ว่าการให้อภัย กับการประนีประนอมนั้นไม่เหมือนกันนะ หากต้องทนกับความสัมพัน์ที่ใช้กำลังหรือความรุนแรง การให้อภัยก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำต่อนะ


   4. ค้นหา ความหมายของสิ่งที่พบเจอ
ให้ค้นหาความหมายของเรื่องราว และจุดประสงค์ที่ต้องประสบมา เราจะช่วยคนที่กำลังเจ็บปวดได้อย่างไรล่ะ? เช่นเราตกเป็นเหยื่อของเรื่องราวเลวร้าย เราอาจลุกขึ้นสู้ในเรื่องที่มันถูกต้องให้มากขึ้น  - เอ็นไรท์กล่าวว่าเมื่อคุณปล่อยวาง คุณจะได้พบว่า "หากเรามอบความเมตตาเอื้ออาทร และความรักให้แก่ผู้อื่น เราเองก็จะได้รัการเยียวยาเช่นกัน"

        มาหัดฝึกปล่อยวาง และให้อภัย แล้วใจเราจะเบา ใจเรา ชีวิตเราจะเหลือพื้นที่ให้สิ่งดีๆ คนดีๆ เพื่อนดีๆ และมีพลังที่สร้างสรรค์ให้กับตัวเรามากขึ้นเยอะ  ที่ผ่านไปให้อภัยได้แล้วจงนำมาเป็นบทเรียนใช่ว่าเราจะไม่จำนะ "จำแม่นๆ" จะได้ไม่พลาดอีก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น