แก๊ส LPG
หรือ แก๊สหุงต้ม
เป็นแก๊สที่ได้จากกระบวนการแยกแก๊ส ธรรมชาติและขบวนการกลั่นน้ำมัน เป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยแก๊สโปรเปน ( Propane ) และบิวเทน ( Butane ) เป็นส่วนประกอบหลัก มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศประมาณ 1.5 - 2 เท่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ จึงต้องเติมกลิ่นเหม็น ( Ethyl Mercaptan ) ลงไปเพื่อให้รู้ว่าแก๊สรั่ว ซึ่งอาจทำให้ติดไฟได้และขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูง ( จากสถานะของเหลวกลายเป็นไอ ขยายตัวประมาณ 250 เท่า ) จะมีสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิปกติและความดันบรรยากาศ มีออกเทน 105 - 110 แก๊ส LPG 1 ลิตร หนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม LPG เมื่อเผาไหม้จะมีมลภาวะต่ำกว่าน้ำมัน ( สะอาดกว่าน้ำมัน )แก๊สธรรมชาติ จะพบในชั้นหินที่มีรูพรุนใต้พื้นผิวโลก มักจะพบอยู่บนผิวหน้าของน้ำมันดิบ
แก๊สหุงต้มหรือแก๊สปิโตรเลียมเหลว(Liqueified Petroleum Gas : LPG) เกิดขึ้นได้ 2 วิธี
1.ผลิตจากกระบวนการกลั่นน้ำมันในโรงกลั่นน้ำมันต่างๆ
2.ผลิตจากกระบวนการแยกแก๊สของแก๊สธรรมชาติ
แก๊ส หุงต้ม (LPG) ประกอบด้วยแก๊สโปรเพน(Propane) และแก๊สบิวเทน (Butane) เป็นส่วนประกอบหลัก และจะบรรจุในสภาพเป็นของเหลวโดยการอัดให้มีความดัน ประมาณ100 - 130 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
แก๊สธรรมชาติ ประกอบด้วย แก๊สมีเทน (Metane) เป็นส่วนใหญ่ และมีแก๊สโปรเพน บิวเทน และอีเทนผสมอยู่บ้างเล็กน้อย
คุณสมบัติพื้นฐานของแก๊สที่ควรรู้
1. ค่าความร้อน(Heating Value) หมายถึงปริมาณความร้อนที่เชื้อเพลิงที่มีมวลหนึ่งหน่วย และมีอุณหภูมิ 25 องศา เซลเซียส คายออกมาจากการทำปฏิกริยากับออกซิเจน และแก๊สไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ถูกทำให้กลับมามีอุณหภูมิ 25 องศา เซลเซียส ดังเดิม
2.ค่าความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity) แก๊สที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า 1.0 เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ ซึ่งเมื่อรั่วไหลออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก จะไหลลงไปที่พื้นและจะลอยอยู่เรี่ยๆกับพื้น และมันจะค่อยๆกระจัดกระจายออกไปสู่บรรยากาศ อย่างช้าๆ แก๊สโปรเพนและแก๊สบิวเทน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของแก๊สหุงต้ม มีค่าความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ ประมาณสองเท่า ดังนั้นถ้าแก๊สหุงต้มรั่วออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก มันจะไหลลงสู่พื้นและจะค่อยๆกระจายออกสู่บรรยากาศ ส่วนแก๊สธรรมชาติ มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ เมื่อรั่วออกมาจะลอยขึ้นสู่อากาศ จึงมีการกระจัดกระจายได้เร็วกว่าแก๊สหุงต้ม
3.ความดันไอ(Vapour Pressure) คือ ความดัน ณ จุดที่ของเหลวได้รับความร้อนกลายเป็นไอจนกระทั่งเกิดการเดือด เช่น ความดันไอของน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศ หรือจุดเดือดของน้ำที่ความดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส
แก๊สบิวเทนมีค่าความดันไอที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เท่ากับ 55 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และแก๊สโปรเพนมีค่าความดันไอ เท่ากับ 177 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
แก๊สมีเทนซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของแก๊สธรรมชาติ จะมีค่าความดันไอที่สูงกว่าแก๊สโปรเพนในแก๊สหุงต้ม
ประมาณ 40 เท่า ดังนั้นการนำแก๊สธรรมชาติ มาใช้งานจึงไม่เหมาะที่จะบรรจุถังเป็นของเหลว เว้นแต่จะทำให้แก๊สเย็นตัวลง จนถึงอุณหภูมิ ( -160 )องศาเซลเซียส จึงจะได้แก๊สมีเทนในสภาพของเหลวที่ความดันบรรยากาศ แต่เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำมาก ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้
4.ย่าน ที่สามารถติดไฟได้(Flammability) เมื่อแก๊สใดๆ ผสมกับอากาศในปริมาณที่พอเหมาะ และได้รับพลังงานจากภายนอก เช่น ความร้อน เปลวไฟ หรือการจุดระเบิด ก็จะทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้ ย่านที่ติดไฟได้จึงหมายความว่า ย่านที่มีปริมาณเชื้อเพลิงที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้ได้รวดเร็ว ถ้าเชื้อเพลิงมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าย่านนี้ก็จะไม่สามารถเกิดการเผาไหม้ ได้อย่างรวดเร็ว
แก๊สทั้งสามชนิดที่เป็นส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้ม มีย่านที่ติดไฟได้ค่อนข้างแคบมาก ซึ่งหมายความว่า ถ้าแก๊สธรรมชาติหรือแก๊สหุงต้มรั่วออกมา จะมีโอกาสติดไฟได้น้อยมาก
5.จุด ติดไฟอัตโนมัติ(Autoignition Temperature) การที่เชื้อเพลิงจะเกิดการติดไฟหรือเผาไหม้ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ เชื้อเพลิง อากาศและพลังงาน(ความร้อนหรือเปลวไฟ) แต่เมื่อเชื้อเพลิงผสมกับอากาศและมีอุณหภูมิสูงเพียงพอ ก็จะสามารถเผาไหม้ได้เองโดยไม่ต้องมีประกายไฟ อุณหภูมินี้ เรียกว่า จุดติดไฟอัตโนมัติ
จุดติดไฟอัตโนมัติของแก๊สมีเทน คือ 537 แก๊ส โปรเพนคือ 470 แก๊สบิวเทนคือ 365 องศาเซลเซียส
การใช้แก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้มในยานพาหนะ
1. แก๊สหุงต้ม (LPG) ได้มีการนำมาใช้ในยานพาหนะเป็นเวลามากกว่า 20 ปี ในต่างประเทศ ดังนั้น อุปกรณ์ต่างๆ จึงมีมาตรฐานรองรับ และมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้หลากหลาย
2. แก๊สธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. ได้นำแก๊สธรรมชาติมาอัดให้มีความดันประมาณ 3000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว บรรจุลงในถังที่ออกแบบมาเฉพาะ และนำไปติดตั้งในรถยนต์ พร้อมด้วยอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นในการจ่ายแก๊สเข้าสู่ระบบเครื่องยนต์ เรียกว่า Natural Gas for Vehicles (NGV)
ข้อควรระวังในการใช้แก๊ส NGV ที่สำคัญคือ แก๊ส NGV เป็นแก๊สที่มีความดันสูงกว่าแก๊สหุงต้ม ประมาณ 23 เท่า ดังนั้น จึงไม่สามารถนำถังแก๊สที่ใช้บรรจุแก๊สหุงต้มมาบรรจุแก๊ส NGV ได้ มิฉนั้น ถังจะระเบิดเพราะไม่สามรถรับแรงดันได้ และในการใช้งานจะต้องมีความระมัดระวังและตรวจสอบระบบอยู่เสมอ เนื่องจาก เป็นระบบที่มีความดันสูงมาก
เป็นแก๊สที่ได้จากกระบวนการแยกแก๊ส ธรรมชาติและขบวนการกลั่นน้ำมัน เป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยแก๊สโปรเปน ( Propane ) และบิวเทน ( Butane ) เป็นส่วนประกอบหลัก มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศประมาณ 1.5 - 2 เท่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ จึงต้องเติมกลิ่นเหม็น ( Ethyl Mercaptan ) ลงไปเพื่อให้รู้ว่าแก๊สรั่ว ซึ่งอาจทำให้ติดไฟได้และขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูง ( จากสถานะของเหลวกลายเป็นไอ ขยายตัวประมาณ 250 เท่า ) จะมีสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิปกติและความดันบรรยากาศ มีออกเทน 105 - 110 แก๊ส LPG 1 ลิตร หนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม LPG เมื่อเผาไหม้จะมีมลภาวะต่ำกว่าน้ำมัน ( สะอาดกว่าน้ำมัน )แก๊สธรรมชาติ จะพบในชั้นหินที่มีรูพรุนใต้พื้นผิวโลก มักจะพบอยู่บนผิวหน้าของน้ำมันดิบ
แก๊สหุงต้มหรือแก๊สปิโตรเลียมเหลว(Liqueified Petroleum Gas : LPG) เกิดขึ้นได้ 2 วิธี
1.ผลิตจากกระบวนการกลั่นน้ำมันในโรงกลั่นน้ำมันต่างๆ
2.ผลิตจากกระบวนการแยกแก๊สของแก๊สธรรมชาติ
แก๊ส หุงต้ม (LPG) ประกอบด้วยแก๊สโปรเพน(Propane) และแก๊สบิวเทน (Butane) เป็นส่วนประกอบหลัก และจะบรรจุในสภาพเป็นของเหลวโดยการอัดให้มีความดัน ประมาณ100 - 130 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
แก๊สธรรมชาติ ประกอบด้วย แก๊สมีเทน (Metane) เป็นส่วนใหญ่ และมีแก๊สโปรเพน บิวเทน และอีเทนผสมอยู่บ้างเล็กน้อย
คุณสมบัติพื้นฐานของแก๊สที่ควรรู้
1. ค่าความร้อน(Heating Value) หมายถึงปริมาณความร้อนที่เชื้อเพลิงที่มีมวลหนึ่งหน่วย และมีอุณหภูมิ 25 องศา เซลเซียส คายออกมาจากการทำปฏิกริยากับออกซิเจน และแก๊สไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ถูกทำให้กลับมามีอุณหภูมิ 25 องศา เซลเซียส ดังเดิม
2.ค่าความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity) แก๊สที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า 1.0 เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ ซึ่งเมื่อรั่วไหลออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก จะไหลลงไปที่พื้นและจะลอยอยู่เรี่ยๆกับพื้น และมันจะค่อยๆกระจัดกระจายออกไปสู่บรรยากาศ อย่างช้าๆ แก๊สโปรเพนและแก๊สบิวเทน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของแก๊สหุงต้ม มีค่าความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ ประมาณสองเท่า ดังนั้นถ้าแก๊สหุงต้มรั่วออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก มันจะไหลลงสู่พื้นและจะค่อยๆกระจายออกสู่บรรยากาศ ส่วนแก๊สธรรมชาติ มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ เมื่อรั่วออกมาจะลอยขึ้นสู่อากาศ จึงมีการกระจัดกระจายได้เร็วกว่าแก๊สหุงต้ม
3.ความดันไอ(Vapour Pressure) คือ ความดัน ณ จุดที่ของเหลวได้รับความร้อนกลายเป็นไอจนกระทั่งเกิดการเดือด เช่น ความดันไอของน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศ หรือจุดเดือดของน้ำที่ความดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส
แก๊สบิวเทนมีค่าความดันไอที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เท่ากับ 55 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และแก๊สโปรเพนมีค่าความดันไอ เท่ากับ 177 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
แก๊สมีเทนซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของแก๊สธรรมชาติ จะมีค่าความดันไอที่สูงกว่าแก๊สโปรเพนในแก๊สหุงต้ม
ประมาณ 40 เท่า ดังนั้นการนำแก๊สธรรมชาติ มาใช้งานจึงไม่เหมาะที่จะบรรจุถังเป็นของเหลว เว้นแต่จะทำให้แก๊สเย็นตัวลง จนถึงอุณหภูมิ ( -160 )องศาเซลเซียส จึงจะได้แก๊สมีเทนในสภาพของเหลวที่ความดันบรรยากาศ แต่เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำมาก ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้
4.ย่าน ที่สามารถติดไฟได้(Flammability) เมื่อแก๊สใดๆ ผสมกับอากาศในปริมาณที่พอเหมาะ และได้รับพลังงานจากภายนอก เช่น ความร้อน เปลวไฟ หรือการจุดระเบิด ก็จะทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้ ย่านที่ติดไฟได้จึงหมายความว่า ย่านที่มีปริมาณเชื้อเพลิงที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้ได้รวดเร็ว ถ้าเชื้อเพลิงมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าย่านนี้ก็จะไม่สามารถเกิดการเผาไหม้ ได้อย่างรวดเร็ว
แก๊สทั้งสามชนิดที่เป็นส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้ม มีย่านที่ติดไฟได้ค่อนข้างแคบมาก ซึ่งหมายความว่า ถ้าแก๊สธรรมชาติหรือแก๊สหุงต้มรั่วออกมา จะมีโอกาสติดไฟได้น้อยมาก
5.จุด ติดไฟอัตโนมัติ(Autoignition Temperature) การที่เชื้อเพลิงจะเกิดการติดไฟหรือเผาไหม้ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ เชื้อเพลิง อากาศและพลังงาน(ความร้อนหรือเปลวไฟ) แต่เมื่อเชื้อเพลิงผสมกับอากาศและมีอุณหภูมิสูงเพียงพอ ก็จะสามารถเผาไหม้ได้เองโดยไม่ต้องมีประกายไฟ อุณหภูมินี้ เรียกว่า จุดติดไฟอัตโนมัติ
จุดติดไฟอัตโนมัติของแก๊สมีเทน คือ 537 แก๊ส โปรเพนคือ 470 แก๊สบิวเทนคือ 365 องศาเซลเซียส
การใช้แก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้มในยานพาหนะ
1. แก๊สหุงต้ม (LPG) ได้มีการนำมาใช้ในยานพาหนะเป็นเวลามากกว่า 20 ปี ในต่างประเทศ ดังนั้น อุปกรณ์ต่างๆ จึงมีมาตรฐานรองรับ และมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้หลากหลาย
2. แก๊สธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. ได้นำแก๊สธรรมชาติมาอัดให้มีความดันประมาณ 3000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว บรรจุลงในถังที่ออกแบบมาเฉพาะ และนำไปติดตั้งในรถยนต์ พร้อมด้วยอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นในการจ่ายแก๊สเข้าสู่ระบบเครื่องยนต์ เรียกว่า Natural Gas for Vehicles (NGV)
ข้อควรระวังในการใช้แก๊ส NGV ที่สำคัญคือ แก๊ส NGV เป็นแก๊สที่มีความดันสูงกว่าแก๊สหุงต้ม ประมาณ 23 เท่า ดังนั้น จึงไม่สามารถนำถังแก๊สที่ใช้บรรจุแก๊สหุงต้มมาบรรจุแก๊ส NGV ได้ มิฉนั้น ถังจะระเบิดเพราะไม่สามรถรับแรงดันได้ และในการใช้งานจะต้องมีความระมัดระวังและตรวจสอบระบบอยู่เสมอ เนื่องจาก เป็นระบบที่มีความดันสูงมาก
อบความร้อน30องศาต่างกับ15องศาอย่างไร
ตอบลบ