การยุติอารมณ์โกรธระหว่างสนทนาในเรื่องที่มีความคิดแตกต่างกัน ให้เลือกเงียบไว้ก่อน หรือไม่แสดงอารมณ์ตอบโต้กลับไป แต่ในทางกลับกันหากเราแสดงอารมณ์ตอบโต้กลับไปเพื่อความสะใจ หรือแค่จะนำเสนอเหตุผลของเราก็ตามที ผลลัพธ์ที่ได้กลับพาคู่สนทนาดิ่งลงเหวของอารมณ์โกรธ และไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วยซ้ำ
ฉะนั้นเมื่อโกธรเราควรจะต้องดึงสติของเรากลับมาสู่ปัจจุบัน
และคิดไตร่ตอรงความต้องการของเราจริงๆ ให้ชัดเจนว่าแท้จริงแล้วในใจของเราต้องการอะไรกันแน่ หลังจากนั้นจึงเลือกที่จะพูดความรู้สึกของเรา และความต้องการของเราจากใจจริง มากกว่าการเติมอารมณ์เข้าไปในประโยคสนทนา
เช่น เมื่อโดนเจ้านายตำหนิในเนื้องานที่มีความเห็นไม่ตรงกัน แทนที่จะตอบด้วยอารมณ์โกธรเราลองเปลี่ยนเป็นการตอบด้วยประโยคขอความคิดเห็น หรือความต้องการหาทางออกร่วมกัน เพื่อหยุดยั้งอารมณ์โกธรของทั้งตนเองและของเจ้านาย ประโยชน์ที่จะเกิดจากการดึงอารมณ์ให้กลับมาอยู่ที่ศูนย์กันทั้งสองฝ่าย ทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสนทนาให้ได้ผลลัพธ์ที่ควรเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นบทสนทนา และเพื่อรักษาไว้ซึ่งมารยาทและการให้เกียรติกันของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้การทำงานในครั้งต่อไปไม่เกิดช่องว่างระหว่างกัน
หากนำไปปฏิบัติได้ตามนี้นอกจากผลลัพธ์ของบทสนทนาที่จะเกิดขึ้นแล้ว คุณยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ของเพื่อร่วมงาน หรือระหว่างคุณและเจ้านายไว้ได้นั่นเอง เพื่อส่งผลให้การทำงานที่ราบรื่นมากขึ้นในครั้งต่อไปด้วยค่ะ
New
"ยุติอารมณ์โกรธ" จากคู่สนทนา ได้อย่างไร?
About thbooksmile.blogspot.com
Soratemplates is a blogger resources site is a provider of high quality blogger template with premium looking layout and robust design
รู้ไว้ใช่ว่า
ป้ายกำกับ:
การพัฒนาตนเอง,
ชีวิต และงาน,
รู้ไว้ใช่ว่า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น